สุนัขป่วย นั้นมีหลากหลายแต่ปัญหาหลักคือ สุนัขไม่สามารถพูดได้ ทำให้เจ้าของต้องกังวลทุกครั้งที่สุนัขร้องด้วยความเจ็บปวด เจ้าของจึงมีหน้าที่ต้องคอยสังเกตความผิดปกติของน้องๆ ว่ากำลังมีอาการป่วยอยู่รึเปล่าเพื่อที่จะได้พามารักษาได้ทันท่วงที ถ้ามีสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าสัตว์เลี้ยงของเรากำลังป่วยมาให้เจ้าของทุกคนได้สังเกตกันว่าหากน้องมีอาการเหล่านี้แปลว่าสุนัขของเรามีความผิดปกติแล้ว

สุนัขป่วย จะรู้ได้อย่างไร

สุนัขป่วย สามารถรู้ได้โดยเจ้าของต้องหมั่นสังเกตุอาการผิดปกติของเขาด้วยตัวเอง เวลาที่สุนัขป่วยเจ้าของอาจต้องมีการวิเคราะห์อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น การวินิจฉัยอย่างถูกต้องจะทำให้ง่ายต่อการเยียวยารักษาโรค ฝึกสังเกตุว่าอาการแบบไหนที่ส่งสัญญานเตือนว่าสุนัขกำลังป่วย โดยสังเกตอาการดังต่อไปนี้

  • สังเกตุหูมีกลิ่นเหม็น ขี้หูเกรอะกรัง สะบัดหัวบ่อยครั้ง
  • ช่องปาก เฃ่นช่องปากมีกลิ่นเหม็น หินปูนเกาะที่ฟันเหงือกบวมแดงฟันผุฟันหัก
  • ระบบทางเดินอาหารมีอาการท้องเสียถ่ายอุจาระลำบาก
  • จมูกแห้งไม่ชุ่มชื่นย อาการหายใจลำบาก
  • ตาของสุนัข มีขี้ตาเกรอะกรัง หรือตาขุ่นมัว ตาสองข้างขนาดไม่สมดุลกัน
  • ระบบขับถ่ายปัสสวาวะ มีเลือดปน ปัสสาวะบ่อยเกินไป กระปริดกะปรอย
  • ขนร่วง มีตุ่มหนองตามผิวหนัง ขนแห้งหยาบกระด้าง
  • ระบบโครงสร้างร่างกาย มีการเดินผิดปกติ มีการไม่สมดุลย์ของขา

อาการของสุนัขป่วย

สุนัขป่วยมีอาการหลากหลาย ตั้งแต่อาการเบาๆ อย่างเห็บหมัดกัดที่เจ้าของสามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง ไปจนถึงอาการไม่สบายหนักที่ต้องส่งให้ถึงมือหมอทันที ซึ่งการทำความรู้จักกับอาการของสุนัขป่วย ก็จะทำให้เจ้าของสามารถพาไปพบสัตวแพทย์ได้อย่างทันท่วงที โดยอาการป่วยหลักๆ สามารถแบ่งได้ดังนี้

  • สุนัขป่วย มีอาการท้องเสียหรือท้องผูก

หากสุนัขมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกต่อเนื่องนานกว่า 48 ชั่วโมง หรือมีอาการผิดปกติที่พบได้ในมูลสุนัข อย่างเลือด หรือเมือก ก็ควรนำสุนัขไปพบแพทย์ โดยถ้าเป็นไปได้ก็นำมูลสุนัขไปด้วย

  • สุนัขป่วย มีอาการปัสสาวะลำบาก

สุนัขมีอาการฉี่ลำบาก ร้องครางเวลาปัสสาวะ เกร็งหลัง หรือมีเลือดในฉี่

  • กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อย

หากคุณไม่ได้เพิ่งเปลี่ยนยี่ห้ออาหาร อาการกระหายน้ำมากผิดปกติ หรือการปัสสาวะบ่อย เป็นสัญญาณหลักของอาการป่วยในสุนัข ไม่ว่าจะเป็นเบาหวานหรือโรคไต โดยปกติต่อวันสุนัขจะดื่มน้ำประมาณ 20-70 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว

  • อาเจียน สำลัก จาม หรือไอ

อาการป่วย หรือสำลักทุกครั้งที่ทานข้าวนั้นเป็นอาการที่อันตรายมาก การอาเจียนเป็นสัญญาณของอาการภูมิแพ้ และการติดเชื้อที่รุนแรงโดยเฉพาะในสุนัขอายุมาก ส่วนการไอเป็นสัญญาณของโรคติดต่อร้ายแรงในสุนัข

  • ไม่กินอาหารมามากกว่า 24 ชั่วโมง

สาเหตุที่สุนัขไม่ยอมกินอาหารนั้นมีมากมาย แต่หากสุนัขไม่ยอมกินมากกว่าหนึ่งวัน ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

  • เหงือกบวมแดง

อาการเหงือกบวม, แดง รวมไปถึงอาการปากเหม็นเป็นอาการบ่งชี้ปัญหาโรคเหงือก โดยหากอาการหนักมากๆ อาจถึงขั้นสูญเสียฟัน อาหารร่วงจากปาก และน้ำหนักลดเนื่องจากกินอาหารไม่ได้

  • เลียอย่างผิดปกติ

การเลียกรงเล็บ สะโพก หรือบริเวณหางอาจบ่งบอกอาการแพ้ แต่หากสุนัขเลียพื้นหรือปากไม่หยุด อาจเป็นสัญญาณของอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร ควรนำไปพบสัตวแพทย์เพื่อความมั่นใจ

  • น้ำตาไหล น้ำมูกไหล

อาการจาม หอบ น้ำมูกน้ำตาไหล หายใจลำบาก หรืออาการป่วยอื่นๆ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคทางเดินหายใจ

  • คันและเป็นรังแค

อาการทางผิวหนังเป็นข้อบ่งชี้ที่ชัดของสุขภาพสุนัข โดยผิวหนังของสุนัขควรจะลื่นนิ่ม มีสีชมพูไม่ก็ดำ โดยอาการคัน มีแผล มีตุ่ม และอาการด้านผิวหนังอื่นๆ อาจแสดงถึงอาการแพ้เห็บ ซึ่งการแพ้เห็บอาจเป็นหนึ่งในแมลงที่อาจก่อให้อาการแพ้ และอาจก่อให้เกิดโรคได้หลายโรค

  • สุนัขป่วย มีน้ำหนักเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักไม่ว่าจะเพิ่มหรือลดอย่างฉับพลันภายใน 2-4 สัปดาห์ หรือการเพิ่ม/ลดน้ำหนักเรื่อยๆ ตลอดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจเป็นสัญญาณของอาการป่วย

  • แสดงอาการเหนื่อย หมดแรง หรือดูสุขภาพย่ำแย่

หากสุนัขมีอาการผิดแปลกไปจากเดิม ซึมลง เจ้าของควรดูแลอย่างใกล้ชิด โดยหากอาการยังไม่หายไป ควรรีบพาสุนัขไปพบแพทย์

  • สุนัขป่วย ซึม ไม่ยอมเล่นด้วย

ถ้าหากเดิมสุนัขจะวิ่งมาทักทายตั้งแต่เราเปิดประตูบ้าน แต่ตอนนี้กลายเป็นไปนอนหลบอยู่ใต้เก้าอี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าน้องต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ซึ่งคุณต้องถามตัวเองก่อนว่า คุณมีส่วนในการทำให้เขาหรือเธอเป็นแบบนั้นหรือเปล่า อาจมีการย้ายบ้าน มีคนมาอยู่ใหม่ หรืออาจเครียดงานจนไม่ยอมเล่นกับสุนัข อย่างไรก็ดีหากทุกอย่างปกติเช่นเดิมแต่ยังซึมไม่หาย ต้องปรึกษาสัตวแพทย์ พวกเขาอาจกำลังเผชิญกับอาการป่วยที่คุณมองไม่เห็น

  • สุนัขดุขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

หากอยู่ๆ สุนัขก็เกิดดุร้ายขึ้นมาจากที่ปกตินิ่งสงบเสงี่ยม จะเกาหัวก็กลายเป็นขู่เรา ให้ลองศึกษาพฤติกรรมดูว่ามีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นหรือเปล่า และพาไปพบสัตวแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น

  • มีอาการไอหรือหายใจผิดปกติ

เมื่อเจ้าของพบว่าสุนัขมีอาการไอหรือหอบควรสังเกตดูลักษณะของการไอหรือหอบด้วย ซึ่งการไอนั้นอาจเป็นอาการของโรคร้ายแรงได้หลายโรค เช่น โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคพยาธิหัวใจ อีกทั้งอาจสังเกตลักษณะอาการไอ ว่าเป็นการไอแบบไหน เช่น ไอแห้งๆ หรือไอเหมือนมีอะไรติดคอ เพราะจะเป็นตัวช่วยบอกได้ว่าสัตว์เลี้ยงมีอาการมาจากสาเหตุใดและบอกความรุนแรงของโรคได้ และหากมีอาการหายใจลำบากหรือหอบร่วมด้วย แนะนำว่าให้รีบพาไปหาสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด

  • มีไข้

การที่อุณหภูมิร่างกายของสัตว์เลี้ยงสูงขึ้นเป็นตัวบ่งบอกว่าสัตว์เลี้ยงอาจมีภาวะอาการป่วยที่มีอาการติดเชื้อที่ภายในร่างกาย แต่ควรต้องเช็คให้แน่นอนก่อนว่าสัตว์เลี้ยงมีไข้โดยการจับบริเวณด้านในใบหูว่ารู้สึกอุ่นหรือร้อนกว่าปกติไหม เพราะหากจับที่ส่วนท้องหรือตามตัวอุณหภูมิอาจมีการแปรผันตามสภาพอากาศภายนอกได้ หรืออีกวิธีคือการใช้ปรอทวัดไข้สำหรับสัตว์เลี้ยงเสียบเข้าไปที่รูทวาร วัดไข้ด้วยตัวเอง ไม่ง้อหมอ แต่หมอเป็นคนสอนวัดนะ โดยอุณหภูมิในตัวสุนัขไม่ควรสูงถึงหรือสูงกว่า 39.5 องศาเซลเซียส และแมวไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า 37 องศาเซลเซียส ถ้าพบความผิดปกติควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

สุนัขป่วย

วิธีการดูแลสุนัขป่วย

เมื่อสัตวแพทย์ตรวจพบอาการป่วยและได้ทำการรักษาเป็นที่เรียบร้อย เจ้าของอาจจะต้องมีการป้อนยา ทำแผล หรือพาไปฉีดยาที่คลินิกบ่อยๆ ซึ่งไม่ว่าจะขั้นตอนไหนก็เป็นเรื่องน่าหนักใจสำหรับทั้งสุนัขและเจ้าของ โดยวิธีการดูแลสุนัขป่วยมีดังนี้

  • เมื่อสุนัขป่วยปฏิบัติตามคำสั่งของสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัด

เพราะคุณหมอจะเข้าใจอาการป่วยมากที่สุด หากสัตวแพทย์สั่งยาอะไรก็ตาม ก็ควรให้สุนัขกินอย่างครบถ้วนตามมื้ออาหาร หรือเวลาที่กำหนด เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด และงดให้อาหาร/ขนมที่สัตวแพทย์สั่งห้าม ถึงแม้สุนัขจะทำท่างอแงก็ตาม

  • เมื่อสุนัขป่วยให้พักผ่อนให้เพียงพอ

เมื่อสุนัขป่วยพวกเขาต้องการการพักผ่อนที่มากกว่าปกติ ควรจัดที่ส่วนตัวให้พักผ่อน ห่างไกลจากเสียงดัง สัตว์อื่น และเด็กๆ ที่จะมากวนการนอน โดยสุนัขที่ป่วยด้วยโรคบางโรคอาจสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติเพื่อให้ได้ขยับตัว แต่บางโรคก็ควรนอนพักอย่างเดียว ให้ปรึกษาสัตวแพทย์ทุกครั้งเพื่อการดูแลที่ถูกต้อง

  • ป้องกันอาการติดเตียง

หากสัตวแพทย์ไม่ได้สั่งห้ามการออกกำลังกาย และสุนัขสามารถลุกเดินได้ ควรพาไปเดินเบาๆ ระยะไม่ไกลมากทุกวัน เนื่องจากการนอนนิ่งๆ ในท่าเดิมอาจทำให้เกิดแผลกดทับได้ แถมการได้สูดอากาศนอกบ้านบ้างก็ยังช่วยให้รู้สึกสดชื่น และช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ โดยเจ้าของก็อาจนำเอาเบาะนอนไปทำความสะอาดในช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ดีหากสุนัขเป็นหวัด ก็ไม่ควรพาออกไปเดินเล่นในช่วงอากาศหนาวหรือฝนตก

  • ดูแลการเข้าห้องน้ำของสุนัข

พวกอาจไม่สามารถไปเข้าห้องน้ำได้อย่างเดิม อาจมีการขับถ่ายบนที่นอน ซึ่งเจ้าของก็ควรจะเปลี่ยนที่นอนและทำความสะอาดทุกวัน โดยหากระหว่างทางไปเข้าห้องน้ำสุนัขอั้นไม่อยู่ ก็อย่าดุพวกเขาเหมือนเวลาปกติ เพราะอาจทำให้เครียดได้

  • เมื่อสุนัขป่วยดูแลอาหารการกินให้ดี

หากสัตวแพทย์สั่งให้ทานอาหารเฉพาะโรค ก็ควรจัดให้ทานครบตามมื้อ กันไม่ให้สุนัขได้กินอาหารปกติของสุนัขตัวอื่นๆ และควรปรึกษาสัตวแพทย์หากจะให้อาหารอื่นๆ นอกเหนือไปจากอาหารเฉพาะโรค โดยควรแจ้งสมาชิกในบ้านอย่างชัดเจนถึงวิธีการดูแล เพราะแม้แต่ขนมชิ้นเดียวก็อาจส่งผลให้เกิดอาการป่วยหรือส่งผลเสียได้

  • เมื่อสุนัขป่วยดูแลอย่าให้ขาดน้ำ

เช่นเดียวกันกับคน สุนัขป่วยก็ต้องการน้ำมากกว่าปกติ โดยเฉพาะสุนัขที่กำลังต่อสู้กับโรคจากแบคทีเรียหรือปรสิต ซึ่งอาจทำให้สุนัขรู้สึกขาดน้ำและอ่อนแรงได้ ดังนั้นควรวางชามน้ำสะอาดไว้ใกล้ๆ พวกเขาเมื่อไม่สบาย

  • การดูแลหลังผ่าตัด

หากสุนัขต้องได้รับยาสลบ พวกเขาต้องใช้เวลาในการฟื้นกลับมาเดินได้ปกติอย่างเดิม ควรหาที่สงบปลอดภัยให้นอน และดูแลพาเดินเมื่อฟื้น หากสัตวแพทย์แนะนำให้พักผ่อน งดการวิ่งเล่น ก็ควรทำตามนั้นเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมา โดยหากมียาก็ควรดูแลป้อน ทา หยอดยาให้ครบถ้วน และอ่านฉลากทำความเข้าใจก่อนให้ยา หรือหากต้องทำแผลก็ควรทำตามที่สัตวแพทย์แนะนำ สังเกตอาการบวม แดง ทุกวัน หากต้องใส่คอลลาร์, ปลอกคอกันเลีย ก็ต้องดูแลไม่ให้หลุด

  • ทำความสะอาดขนสุนัข

เมื่อสุนัขป่วย พวกเขาจะไม่สามารถเลียทำความสะอาดตัวเองได้เช่นเดิม ซึ่งสำหรับสุนัขที่รักสะอาดแล้ว อาจเป็นความอึดอัดอย่างหนึ่งได้ แน่นอนว่าเราไม่ควรพาไปอาบน้ำ แต่เราสามารถใช้ผ้าเปียกเช็ดหน้า เช็ดตัวได้ นี่จะช่วยให้พวกเขารู้สึกดีขึ้นเยอะเลย

  • สังเกตอาการผิดปกติอื่นๆ

หากสุนัขต้องทานยา ให้เฝ้าระวังผลข้างเคียงจากยาที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงเฝ้าดูการขับถ่าย หากยังไม่กลับคืนสู่ปกติหลังการรักษา ให้นำไปพบสัตวแพทย์ และสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นเสมอ

การวินิจฉัยอาการป่วยของสุนัข

เมื่อสุนัขป่วย สัตวแพทย์จะมีขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยเพื่อจำแนกโรคต่างๆ รวมไปถึงการตรวจโรคประจำปีเพื่อป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ ดังนี้

  • การตรวจสารเคมี แร่ธาตุและสารละลายในร่างกาย

เพื่อประเมินสภาพอวัยวะภายในของสุนัข เพื่อตรวจว่าสุนัขไม่ได้มีอาการขาดน้ำ และเพื่อตรวจสอบความสมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย

  • การตรวจหาโรคติดต่อ

ตรวจหาพยาธิหนอนหัวใจ กลุ่มโรคที่เกิดจากเห็บ และอาการติดเชื้ออื่นๆ

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

เพื่อตรวจหาอาการป่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเลือดสุนัข อย่างโรคโลหิตจาง ติดเชื้อ เป็นต้น

  • การตรวจปัสสาวะ

เพื่อตรวจหาการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ และโรคอื่นๆ รวมไปถึงการประเมินสุขภาพของไตในการขับปัสสาวะ

  • การตรวจไทรอยด์

เพื่อตรวจว่าต่อมไทรอยด์นั้นผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปหรือเปล่า

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

หากตรวจพบการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ถึงโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ

  • การตรวจหาโรคอื่นๆ

สัตวแพทย์อาจแนะนำการตรวจประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา เพื่อให้ตรงกับอาการป่วยของสุนัขมากที่สุด

การป้องกันอาการป่วยของสุนัข

แน่นอนว่าไม่มีเจ้าของคนไหนอยากให้สุนัขป่วย เพราะนอกจากจะสงสารแล้ว ยังเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นไม่ว่าจะค่าหมอหรือค่ายา ดังนั้นหากไม่อยากให้สุนัขป่วยต้องทำตามขั้นตอนดังนี้

  • พาไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

การพาสุนัขไปพบแพทย์สม่ำเสมอนอกจากจะช่วยให้พบอาการป่วยตั้งแต่เนิ่นๆ แล้ว ยังสามารถช่วยลดอาการป่วยหนักได้อย่างมาก ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเมื่ออาการหนักขึ้น และที่สำคัญคือการที่สุนัขมีสุขภาพดี จะทำให้คุณรู้อาการป่วยของสุนัขได้ไวกว่าสุนัขที่มีโรคต่างๆ ดังนั้นสุนัขควรพบแพทย์อย่างน้อยปีละครั้งเพื่อตรวจสุขภาพ

  • ดูแลสุขภาพของสุนัข

อย่าให้สุนัขนอนอุดอู้อยู่ในบ้าน พาไปออกกำลังกาย วิ่งเล่นบ้าง จะช่วยให้สุนัขมีความสุขที่ได้ใช้เวลาร่วมกับเจ้าของ และยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนจนเกินไป ซึ่งอาจนำมาสู่โรคร้ายได้ในภายหลัง

  • ทานอาหารที่มีประโยชน์

อาหารที่ดีและมีประโยชน์จะช่วยให้พวกเขามีอายุที่ยืนยาวและไม่เจ็บป่วย โดยหลักๆ ควรจะมีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน สุนัขควรได้รับอาหารที่เหมาะสมตามช่วงอายุ และพันธุ์ โดยเฉพาะวัยเด็กกับวัยแก่ที่ต้องการการบำรุงด้านอาหารเป็นพิเศษ และยังมีอาหารต้องห้ามที่สุนัขไม่ควรทานอย่างเช่น ช็อกโกแลต ลูกเกด ผลไม้รสเปรี้ยว เป็นต้น

 

สุนัขป่วยนั้นอาจเกิดขึ้นได้ เจ้าของต้องหมั่นสังเกตอาการ โดยหากมีอาการอะไรผิดแปลกออกไปจากเดิม ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที ซึ่งคุณหมอก็จะช่วยแนะนำการตรวจวินิจฉัยตามอาการของโรค เช่นตรวจปัสสาวะ ตรวจไทรอยด์ ตรวจหาโรคติดต่อ เป็นต้น หลังจากได้รับการรักษาที่ถูกต้องแล้ว เจ้าของก็ต้องนำมาดูแลต่อที่บ้านตามที่สัตวแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนหรืออาหารการกิน และคอยดูอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นตลอดเวลา อย่างไรก็ดีอาการป่วยทั้งหมดสามารถป้องกัน และทุเลาได้ด้วยสุขภาพที่ดีของสุนัข ดังนั้นการพาไปพบแพทย์ประจำ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็ช่วยทำให้สุนัขมีสุขภาพที่แข็งแรง

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่  studiolegalemastrolia.com
สนับสนุนโดย  ufabet369